วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

皆さんはじめまして❢ เซย์เฮลโหลวทูวเอเวอรี่บอดี้ ^^

สวัสดีทุกๆท่านที่แวะเข้ามานะคะ
เราขอแนะนำตัวเองก่อนเลยละกัน ชื่อเตยนะคะ 

คือเราสนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นมานานมากแล้วแต่เพิ่งมีโอกาสมาเรียนจริงจังเมื่อปีที่แล้วค่ะ
ที่เขียนบล็อคนี้ก็เพื่อแชร์ประสบการณ์สำหรับมือใหม่ที่สนใจภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน
โพสต์แรกนี้ก็ขอแนะนำตัวกันก่อนเลยน้า

เพื่ออรรถรสในการอ่าน (ของใครไม่ทราบแหละ) ภาษาไทยที่ใช้เขียนบล็อคจะวิบัติเล็กน้อยนะคะในการสื่ออารมณ์ ต้องขออภัยด้วย  -”-

เอาล่ะ มาเริ่มกันดีฟร่าาาาาา

ถ้าพูดถึงภาษาญี่ปุ่นนี่ก็ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจตัวอักษรก่อนเนอะ
อ่านมิออกจะเรียนได้อย่างไร!
ตัวอักษรในภาษานี้เนี่ยมีหลากหลายมากมายมหาศาลมาก แต่ที่แบ่งเป็นประเภทก็จะมี 4 แบบค่ะ

1. HIRAGANA - ฮิรากานะ
เป็นตัวอักษรซิกเนอเจ้อของเจแปนมั่กๆ ลักษณะจะกลมๆ ดุ้กดิ้ก ดูแล้วน่ารักน่าใคร่ใฝ่ปอง

2. KATAKANA - คะตะคะนะ
เป็นตัวอักษรจี้ปุ่งเช่นกันค่ะ แต่ใช้สำหรับพวกคำทับศัพท์ คำต่างประเทศ ชื่อคนในภาษาต่างประเทศ ประมาณนี้ ลักษณะมันจะเหลี่ยมๆค่ะ จริงๆเราว่ามันก็น่ารักไปอีกแบบ

3. KANJI - คันจิ
เป็นตัวอักษรจีนที่อ่านเสียงญี่ปุ่นค่ะ (คือตัวจีนแต่อ่านเป็นภาษาญี่ปุ่นน่ะนะคะ) เป็นตัวอักษรที่แม้แต่คนญี่ปุ่นเองยังกรีดร้องงงงงงง อ้าคคคคคคคคคคคคคคคค เพราะอะไร ไปดู (สำเนียงแบบพิธีกรคดีเด็ด)
คือตัวคันจิ 1 ตัวเนี่ย มีคำอ่านเยอะมากกกก ซึ่งจะอ่านว่าอะไรก็ขึ้นกับบริบทโดยรอบค่ะ มือใหม่ก็อย่าเพิ่งตกใจ เรียนๆไปจะเริ่มชินกับคันจิเองค่ะ แต่การเรียนคันจิเราว่ามันมิมีเคล็ดลับ จำอย่างเดียวฮับบบ

4. ROMAJI - โรมาจิ
ไม่เชิงเป็นอักษรของญี่ปุ่นนะ แต่เราขอแยกออกมาเพื่อความเข้าใจที่กระจ่างแจ้ง โรมาจิเป็นตัวอักษรบริติชอิ้งลิชดีๆนี่แล ซึ่งไปเขียนแทนคำอ่านในภาษาญี่ปุ่น ถ้าเทียบกับภาษาไทยก็ไอ่ภาษาคาราโอเกะนั่นแหละ ถ้าเทียบกับจีนก็ตัวพินอิน
ตัวอักษรโรมาจินี้มีเพื่อความง่ายต่อนักเรียนต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นค่ะ

หมดแล้วสำหรับตัวอักษรที่เราจะเจอเวลาเรียนเจแปนนีส

ไหนๆ วันนี้เป็นการแนะนำตัวแล้ว ก็ลองมาแนะนำในแบบเจแปนนีสกันดีฟร่าาา

เนื่องจากท่านที่เทพๆแล้วคงไม่เข้ามาสนใจบล็อคเด็กน้อยของข้าพเจ้าแน่ ก็เลยขอเขียนเป็น hiragana ก่อนละกันเน้ออ

เท่าที่ทราบและที่เคยใช้คุยกับคนญี่ปุ่นมาตลอดเนี่ย การแนะนำตัวก็จะเป็นแพทเทิลนี้เลยนะฮ้าบ

はじめまして わたしは ..ชื่อ ..です。
ฮาจิเมมาชิเตะ วะตะชิวะ (ชื่อ เช่น เตย) เดสุ (เสียงสุสุดท้ายออกหื้อค่อยๆหน่อยเน้อ อย่าไปสุพ่นนำ้ลายใส่เค้าล่ะ)
どうぞ よろしく おねがいします。
โดโสะ โยโระชิขุ โอเนไกชิมัส (สุเสียงท้ายออกเบาๆเนียนๆ เลยเนียนไปกับคำหน้าเลย)

คำแปล (รวมๆ) คือ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ ฉันชื่อ .... ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ

ทิป!
การแนะนำตัวเนี่ยนะ อาจจะมีการเติมประโยคอื่นๆเพิ่มได้นะคะ ไม่จำเป็นว่าจะพูดได้แค่สองประโยคนี้
ตัวอย่างที่พบเจอมาคือ การเรียกชื่อตูผิด -*- คือคนญี่ปุ่นเค้ามีสระ+เสียงจำกัด บางทีเค้าเรียกชื่อเราไม่ได้ค่ะ อย่างชื่อเล่นเตยเนี่ย น้าเขยที่เป็นคนญี่ปุ่นแกเรียก โตอิ โตอิ มาตั้งแต่จำความได้จนทุกวันนี้ เกิน 20 ปี ก็ยังเรียก เตย ไม่ได้สักที เพราะฉะนั้นหลังๆ เวลาเจอคนญี่ปุ่นแล้วแนะนำตัว เราใช้ชื่อจริงเลย ง่ายกว่า คัดสรรให้เลย อ้ะะะ
สมมติชื่อจริงเราคือ อุนจิ (สึส หาตัวอย่างดีกว่านี้มีม้ายยยย) 
เราอยากให้เรียกเราว่า อุน เฉยๆ เราก็จะบอกต่อจากประโยค わたしは ..ชื่อ ..です。ว่า

ウン と よんで ください。
อุน โตะ ยนเดะ คุดาไซ
หรือหมายถึง กรุณาเรียกฉันว่า อุน ค่ะ นั่นเอ้งงงงงง

หรือเราจะบอกอาชีพ หรือ ตำแหน่งที่เราทำ (กรณีในการทำงาน) ก็บอกต่อจากประโยคบนไปเลยว่าเป็นอะไร 
เช่นเป็นพนักงานบริษัท คำศัพท์คือ かいしゃいん (ไคชะอิน) ก็จะพูดได้ว่า かいしゃいん です。(ไคชะอินเดสุ) >> เป็นการพูดย่อให้ได้ใจความ ไม่ได้พูดเต็มประโยค เต็มยศนะคะ ถ้าพูดเต็มประโยคมันจะดูไม่เป็นธรรมชาติค่ะ 
ยกตัวอย่างเช่นเวลาเราพูดแนะนำตัวเป็นภาษาไทย สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่ออุนจิ กรุณาเรียกดิฉันว่าอุนนะคะ ดิฉันเป็นพนักงานบริษัทค่ะ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ 
กับ สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่ออุนจิ กรุณาเรียกดิฉันว่าอุนนะคะ เป็นพนักงานบริษัทค่ะ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ
ต่างกันแค่ตัดประธานออกไป แต่ทำให้มันลื่นขึ้นนะคะ
ทุกประโยค เวลาเราพูด เราไม่จำเป็นจะต้องใช้เต็มยศ คือการพูด เน้นให้เป็นธรรมชาติดีกว่าเนอะ ขับให้เราดูโพรเฟสดี 55555

โอเค!รอบนี้แนะนำตัวกันได้แล้ว โพสต์หน้าคงเป็นการแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นกันนะคะ แล้วเราจะได้รู้จักภาษานี้มากขึ้น

โพสต์แรก ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะะ
バイバイ~







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น