วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

มารู้จัก HIRAGANA กันเต้อะ!

สวัสดีค่าาาาา
โพสต์ที่แล้วแนะนำเรื่องประเภทของตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นไปแล้วเนอะะ

โอเค้ มาต่อรายละเอียดกันที่ตัวอักษรเล้ยยยยยยย

เอาจริงๆเรื่องตัวอักษรนี่ เริ่มแรกเราเรียนเองค่ะ โดนดูจากหนังสือมินนะโนะนิฮงโกะ ซึ่งเป็นหนังสือเบสิคสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นทั่วราชอาณาจักรไทย แต่ที่ชอบม้ากมากคือตอนมาเรียนที่ม.เกษตร ค่ะ เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว

ต้องขอเกริ่นประวัติการเรียนนิส เผื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจหาโรงเรียนนะคะ เราเคยเรียนมาสองที่ค่ะ
ที่แรกเราเรียกที่สมาคมศิษย์เก่าแถวสีลมค่ะ สอนดีมั้ย ก็โอเคนะ แต่คนต่อคลาสเยอะเหมือนกัน ไปเรียนแล้วรู้สึกไม่ทั่วถึงไงไม่รู้

ที่ที่สองก็ ม.เกษตรนี่แหละค่ะ บอกเลยว่าเราประทับใจมากกกกก ไม่ได้จะโฆษณานะ ในความรู้สึกเราคือดีมากจริงๆ คนต่อคลาสไม่เยอะมาก อาจารย์ดูแลทั่วถึงจริงๆ คือ เวลาสอนอะไรใหม่ๆ จะเดินทดสอบทีละคนเลย เสียเวลาเล็กน้อย ไม่มากๆ เป็นคลาสที่โอเค เราปลื้มมากทั้งอาจารย์ไทยแล้วก็ญี่ปุ่น ราคาก็ไม่แพงเลย รักกกกก แต่มีโอกาสเรียนแค่คอสเดียวแล้วก็ต้องไปทำงาน

ตอนทำงานนี่เราเรียนตามสถาบันไม่ไหวค่ะ เวลาไม่ได้เพราะออกไปประจำต่างจังหวัด เวลากลับก็ไม่ชัวร์ เลยตัดสินใจเรียนตัวต่อตัว หาอาจารย์จากเว็บ towaiwai เป็นเว็บรวมล่ามญี่ปุ่นที่ใหญ่มากเลยค่ะ มีพี่ๆเก่งๆมาแชร์ประสบการณ์ แล้วก็ให้คำแนะนำ ใครสนใจอยากเป็นล่าม เชิญไปสิงงงงงโลดดดดดด

โอเคพล่ามมายาวมาก สึส ปาไปกี่ย่อหน้าไม่รู้ มาเริ่มกันเลยดีกว่า

เริ่มจาก HIRAGANA ก่อน
เรารู้สึกว่าการเรียนอักษรเนี่ยสำคัญมาก เพราะนอกจากรู้ตัวอักษรแล้ว เราจะเข้าใจการออกเสียงด้วยค่ะ รู้ว่าในภาษาญี่ปุ่นมี่เสียงอะไรบ้าง ช่วยในการพูดกับฟังเยอะเลยนะ

เส้นในการเขียนอักษรเนี่ย มี 3 แบบ ค่ะ คือ
1. เส้นปล่อย (harau: ฮะระอุ) คือลากๆมาจากไหนไม่รู้ล่ะ แต่พอถึงตอนจบของเส้นนั้นจะค่อยๆปล่อยน้ำหนักที่ลากไปจนจบเส้น เพราะฉะนั้นลักษณะเส้นจะตอนต้นจะหนาแล้วตอนจบจะบางๆ
อย่างรูปนี้นะคะ


ลองดูนะ จะเห็นว่าตอนจบเส้นเนี่ย ความหนามันค่อยๆลดลง จากเส้นหนาๆ กลายเป็นเส้นแหลมๆเลย



2. เส้นตวัด (haneru: ฮะเนะรุ) คือตอนจบเนี่ยปล่อยเส้นแบบตวัดๆ ลักษณะจะเหมือนมีติ่งอะไรมาติดอยู่ที่ปลายเส้น อย่างรุปข้างล่างค่ะ


เหมือนมีติ่งอะไรมาติดมะ 5555




3. เส้นหยุด (tomeru: โทะเมะรุ) คือเส้นที่ลากแล้วจะหยุดตรงไหนก็หยุดลากไปเลย เพราะฉะนั้นความหนาของเส้นเนี่ยจะเท่าๆกันตลอกเส้น ดูตัวอย่างในรูปข้างล้างค่ะ

คือปลายเส้นจะไม่เรียวขึ้น หรือมีติ่งอะไรเลยนะคะ หยุดลากไปดื้อๆตามใจฉันเลย ประมาณนั้น


อาวล่ะะ (ภาษาวิบัติอีกละ -.-) รู้จักเส้นในการเขียนแล้ว จะได้เขียนอย่างถูกต้องนะเคอะ ต่อไปไฮไลท์ของโพสนี้ละ จะมีทั้ง hiragana + คำอ่านภาษาไทย + โรมาจิ(อีตัวอังกฤษข้างหลังน่ะนะคะ) เลยน้า แล้วจากนั้นเวลาเขียนคำอ่าน เราจะใช้โรมาจิ พอรู้จักตัวอักษรทั้งหมดแล้วเราก็จะใช้ตัว hiragana กันไปเลยเนอะ จะได้คุ้นๆกับตัวอักษร

หมายเหตุกันก่อน เนื่องจากเราไม่ใช่ผู่เอกซาเปิดด้านภาษาญี่ปุ่นนะคะ บลอคนี้เราเขียนเพื่อแชร์สิ่งที่รู้มา ถ้าใครไม่เห็นด้วยตรงไหนก็แสดงความคิดเห็นได้ค่ะ หรือถ้ามีผู้รู้ลึกผ่านมาก็แนะนำได้เลยค่ะ หนูจะได้สว่าง สะอาด สงบด้วยคนน เย่ คือเรื่องคำอ่านเนี่ยเอามาจากที่เรียนๆมา แล้วก็ใช้เองด้วยค่ะ มีอะไรก็ติกันได้นะฮ้าบ ชมไม่ต้อง รู้ตัวว่าสวย 55555555555 พอๆ บ้าอีกละ กินยาแพพ 55

เอาล่ะมาเล้ยย ลุ้ยยยยย!!

ในภาษาญี่ปุ่นมีเสียงสระ 5 เสียงค่ะ >>> อะ อิ อุ เอะ โอะ (เสียงสั้นหมดเลยนะฮะ)

มาดูกันที่วรรคแรกค่ะ คือ วรรค อะ (A)


อุอิ้ ภาพประกอบเค้าน่ารักล่ะเซ่ ไปสรรหามาจากเว็บของญี่ปุ่นเค้า น่ารักค่อดดดดด
โอเค เลิกนอกเรื่อง!

ตัวอักษรนี้คือตัว A (อะ)
ในภาพจะเห็นเลยว่าต้องเริ่มลากจากเส้นสีโอโรสก่อนเป็นเส้น(1) แล้วลากเส้นสีเขียวลงมา แล้วจึงเป็นเส้นสีเหลือง

การเขียนอักษรเนี่ย ถ้าเขียนถูกต้อง เราจะเขียนได้สวยกว่าแล้วก็ลื่นกว่านะในความรู้สึกเรา




ตัวที่ 2 ของวรรค A คือตัว I (อิ)

การเขียนก็ตามในรูปเลยน้า คงไม่ต้องอธิบายเนอะ









ตัวที่ 3 คือ U (อุ)












ตัวที่ 4 คือ E (เอะ)

ตอนคัดครั้งแรกชอบตัวนี้มาก ไม่รู้ทำไม -”-






ตัวที่ 5 คือ O (โอะ)

ตัวนี้คล้ายๆ ตัว あ หน่อยๆ แต่ตัว あ เนี่ย เส้น(1) มันจะยาวไปคร่อมช่องคัดที่ 2 เลย (ช่องขวาบน) ส่วนตัวนี้เนี่ยจะแค่ช่อง1 (ซ้ายบน) เลยมาช่อง2 จิ้ดนึง แล้วก็มีเส้น(3) อยู่ที่หัวด้วย ส่วน あ เนี่ยไม่มีขีดอะไรตรงนั้นเลยนะคะ








วรรคต่อไปเป็น วรรค คะ (KA)




ตัวที่ 1 ของวรรคคือตัว KA (คะ)

ตัวนี้เขียนให้สวยยากมากกกก ในความรู้สึกเรา ไม่รู้ทำไม T.T








ตัวที่ 2 ตือ ตัว KI (คิ)

ตัวนี้ตัวพิมพ์บางฟรอนท์เนี่ยเส้นสีเหลืองกับเส้นสีเขียวติดกันไปเลย แต่ที่เห็นเขียนกันจะเป็นแบบรูปที่เอามาให้ดูนะคะ คือคนละเส้นกัน



ตัวที่ 3 คือ KU (คุ)

ตัวนี้จำง่าย ยังกับเครื่องหมายน้อยกว่าเลยเนอะ 55









ตัวที่ 4 คือ KE (เคะ)

ตัวนี้อย่าให้ระยะระหว่างเส้น(1) กับอีก 2 เส้นห่างกันมากนะคะ ให้พอดีๆ









ตัวสุดท้ายของวรรคนี้คือ KO (โคะ)












วรรคต่อไปคือวรรค สะ (SA)



ตัวแรกคือ SA (สะ)

ตัวนี้จะคล้าย ๆ ตัว き หน่อยนึงนะ แต่ต่างกันที่ตัวนี้มีขีด(1)แค่ขีดเดียว








ตัวที่ 2 จะออกเสียงแปลกกว่าชาวบ้านปุถุชนธรรมดาสักหน่อย

ตามธรรมดาจะออกเสียงไล่กันไปเป็น สะ/สิ/สุ/เสะ/โสะ ใช่มั้ยคะ แต่ตัวนี้แทนที่จะออกเสียง สิ กลับออกเสียงว่า SHI (ชิ) ค่ะ

ถึงจะอ่านแปลกๆ แต่เขียนง่ายมากเนอะ ว่ามะคะ

ตัวที่ 3 ออกเสียงปกติแล้ว เย่ 5555 ออกเสียงว่า SU (สุ)

ขีด(1) ยาววววๆเลยย แล้วให้ขีด(2) อยู่กลางๆ ม้วนหัวให้ใหญ่หน่อย พอสมดุลนะคะ



ตัวที่ 4 ออกเสียงว่า SE (เสะ)

ตัวนี้เราชอบเขียนมากกกก แต่อันนี้รู้เหตุผล 555 คือเราชอบตัวการ์ตูนนึงที่ชื่อขึ้นนำด้วย เสะ เลยตั้งใจเขียนตัวนี้มาก ปัญญาอ่อนสุดๆ 555555





ตัวที่ 5 อ่านว่า SO (โสะ)

ตัวนี้ก็ง่ายนะ มีเส้นเดียว จบบบบ
ให้ขีดแนวนอนข้างล่างยาวกว่าข้างบนหน่อยนึงนะคะ








ต่อไปวรรค ทะ (TA) 



ตัวแรกตัว TA (ทะ)

เขียนให้สองส่วนมันชิดกันหน่อยนะคะ แล้วเส้น(3) กับ (4) ก็ให้เล็กมินิไซส์หน่อย ไม่งั้นมันจะไปคล้ายตัว こ (KO) ได้ค่ะ








ตัวที่ 2 ของวรรค ตัวนี้พิเศษหน่อยที่คำอ่าน ปกติต้องอ่าน ทิ แต่ในภาษาญี่ปุ่นไม่มีเสียงนี้ค่ะ ตัวนี้อ่านว่า CHI (ชจิ) คือควบระหว่างเสียง ช กับ จ
(ไม่รู้จะเขียนเป็นไทยไงเลย -*-)

ตัว し อ่านว่า ชิ ไปเลยค่ะ ยิงฟันแล้วเอาลิ้นไว้เฉยๆ แล้วชิ ออกมาให้น้ำลายกระจายไปสิบทิศ!!!
แต่ตัว ち เนี่ย ยิงฟัน แล้วเอาลิ้นแตะเหงือก+ฟันบนนะ แล้วค่อยปล่อยเสียงออกมา มันจะยากหน่อย เพราะบ้านเราไม่มีเสียงนี้ แต่มันจะไม่ จิ แบบ จ.จานไปเลยนะคะ




ตัวที่ 3 นี้ก็พิเศษเหมือนกัน อ่านว่า TSU (ทสึ) ค่ะ

ตัว す นี่ออกเสียงเป็น ส.เสือ ได้เลย
ส่วนตัวนี้ ลิ้นต้องแตะตำแหน่งเดียวกับเวลาอ่าน ち เลย แล้วเป็นสระอึแทน มันไม่สระอุด้วยนะตัวนี้








ตัวที่ 4 ปกติละ เย่ อ่านว่า TE (เทะ) ค่ะ













ตัวที่ 5 อ่านว่า TO (โทะ)

เส้น(1) กับเส้น(2) ติดกันน้าาา









วรรคที่ 5 ได้แก่ แถ่นแถ่นแถ่นแท้นนนน วรรคนะ (NA) ค่าาา (ราวกับประกาศรางวัล)


ตัวแรกตัว NA (นะ)

อ่านไม่แปลก เขียนไม่แปลก แต่แค่มีหลายเส้นหน่อยค่ะ









ตัวที่ 2 ตัว NI (นิ)

สองส่วนอย่าให้ห่างกันมากเกินไปนะคะ ไม่งั้นจะมองส่วนที่2 ว่าเป็นตัว こ(KO) ได้








ตัวที่ 3 ตัว NU (นุ)

ตอนท้ายเส้น(2) อย่างลืมม้วนนะคะ เพราะเดี๋ยวจะมีตัวที่คล้ายกันอีกตัวนึงน้าา








ตัวที่ 4 อ่านว่า NE (เนะ)

เส้น(2) ตอนจบม้วนด้วยน้าาา เดี๋ยวจะมีตัวที่คล้ายๆกัน ตรงนี้คือจุดต่างเลยล่ะค่ะ








ตัวที่ 5 อ่านว่า NO (โนะ)

ตัวนี้เหมือนเลข ๑ ของไทยเลยเนอะ แต่ไม่มีหัวเท่านั้นเอง









วรรคต่อปายยยยย วรรคฮะ (HA)


ตัวแรกตัว HA (ฮะ)

เส้น(3) ม้วนหัวใหญ่ๆเลยนะคะ ไม่งั้นจะไปคล้ายตัว け (KE)









ตัวที่ 2 อ่านว่า HI (ฮิ)

เริ่มเส้นเนี่ย ขีดสั้นหน่อยนะคะ พอตอนจบเนี่ย ยาวลงมาเลยนะ เหมือนในรูปเลยค่ะ








ตัวที่ 3 อ่านไม่ตามปกติ แต่อ่านไม่ยากค่ะ อ่านว่า FU (ฟุ)

ถึงจะอ่านเสียงฟุ แต่ไม่เน้นเท่าเสียงในภาษาเรานะคะ มันจะฟุแบบเบาๆ ไม่ใช่ฟุเต็มแรง(น้ำหมากไม่กระจายค่ะตัวนี้ เวลาพูด 55)








ตัวที่ 4 อ่านว่า HE (เฮะ)

ตัวนี้เขียนง่ายมากๆเล้ยยย







ตัวที่ 5 ตัว HO (โฮะ)

ตัวนี้มีเส้นแนวนอน 2 ขีดนะคะ แล้วเส้น(4) เนี่ย ไม่เกิน เส้น(2) นะคะ
ถ้าเขียนขีดเดียวจะกลายเป็นตัว は (HA) ไปเลยยย








ต่อไปเป็น วรรคมะ (MA)


ตัวแรกคือ MA (มะ)

เส้น(3) ขีดให้เลยทั้งเส้น(1) และเส้น(2) เลยนะคะ









ตัวที่ 2 ตัว MI (มิ)

ตัวนี้คล้ายๆ ม.ม้า เลยว่ามั้ย?
เส้น(2)ไม่ยาวนะคะ เอาสั้นๆ แต่ได้ใจความ (ไม่เกี่ยว -"-)







ตัวที่ 3 อ่านว่า MU (มุ)

ปลายเส้น(2) ขีดขึ้นนะคะ แล้วม้วนนี่คือล่างๆเลย ไม่งั้นจะไปคล้ายตัว す ได้น้า
อย่าลืมขีดเส้น(3) ล่วยเน้ออ







ตัวที่ 4 ตัว ME (เมะ)

ตัวนี้แหละที่บอกไปว่าคล้ายตัว ぬ (NU) แต่ปลายเส้น(2) ไม่ม้วนหัว ปล่อยมาเลยค่ะ







สุดท้ายของวรรค ตัว MO (โมะ) ค่าา











วรรคต่อไป วรรคยะ (YA)
วรรคนี้แปลกว่าวรรคอื่น คือ มีตัวอักษรแต่ 3 ตัวค่ะ


ตัวแรกตัว YA (ยะ)

ตัวนี้เอียงๆหน่อยนะคะ แต่ไม่มีอะไรซับซ้อนมาก









ตัวที่ 2 ตัว YU (ยุ)

ข้ามไปแถวนึงนะคะวรรคนี้ คือจะไม่มีแถวเสียงอิ มาแถวเสียงอุเลย
เส้น(2) นี่ต้องเขียนให้ทับเส้น(1) ทั้งบนและล่างนะคะ เพราะฉะนั้นเส้น(1) ตอนตวัดเนี่ยต้องเอาเข้าเยอะๆหน่อยไม่งั้นจะไม่มีพื้นที่ให้เส้น(2)มาทับ







ตัวสุดท้ายของวรรคนี้แร้นนน ตัว YO (โยะ)
ข้ามแถวเสียงเอะไปค่ะ มาแถวเสียงโอะเลย
ตัวนี้เส้น(1)กับ(2) ติดกันนะคะ









วรรคต่อไป วรรคระ (RA) ค่ะ


ตัวที่ 1 ตัว RA (ระ)

เส้น(1) กับเส้น(2) ไม่ติดกันนะคะ

ตัวนี้คล้ายๆเลข 5 เลยย ^^







ตัวที่ 2 อ่านว่า RI (ริ)

เป็นตัวโปรดของเราอีกตัวนึง ซึ่งไม่ทราบบสาเหตุเช่นกัน 5555 ตัวนี้เขียนก็ไม่ยาก อานก็ไม่ยาก เยิฟยูว








ตัวที่ 2 ของวรรค ตัว RU (รุ) ค่ะ

ตัวนี้ที่ปลายเส้นอย่าลืมม้วนนะคะ เพราะมีตัวที่คล้ายกันอยู่(อีกแล้ว) 55555 มันจะเป็นอารมณ์เดียวกับ บ.ใบไม้ กับ ป.ปลา อะไรอย่างนี้ คือไม่เหมือนกัน คล้ายๆกันน่ะเนอะ คนต่างชาติเรียนภาษาเราก็คงสับสนเหมือนกันช่วงแรกกว่าจะจำได้ว่าตัวไหนเป็นอะไร






ตัวที่ 4 ตัว RE (เระ)

มาแล้วว คู่คล้ายของ ね (NE) ต่างที่ปลายเส้น(2) ตัวนี้เขียนปลายออกด้านนอกค่ะ แต่ไม่ใช่เส้นตวัด (haneru) นะคะ เป็นเส้นแบบปล่อย (harau) แต่เขียนออกข้างนอก(ไปทางขวา)







ตัวที่ 5 ตัว RO (โระ)

นี่งัยยยยย ตัวที่คล้าย る (RU) ต่างกันที่ตัว RO นี้ไม่มีหัวที่ปลายเส้นค่ะ
คล้ายๆ เลข 3 เลยล่ะพอไม่มีหัวแล้ว








วรรคต่อไป วรรควะ (WA)


วรรคนี้มีไม่เต็มวรรคเหมือนกัน  มีแค่ 2 ตัวค่ะ

ตัวแรกคือตัว WA (วะ)
ตัวนี้เป็นตัวที่คล้ายกับ ね และ れ ต่างตรงที่ปลายเส้น(2)นั้นจะงุ้มเข้าค่ะ ทำให้ลักษณะมันกลมๆ อ้วนๆ กว่า







ตัวที่ 2 ตัว O (โอะ)

ตัวนี้เนี่ย อ่านว่า โอะ เหมือน お เด้ะเลยค่ะ

จะแยกยังไง? ถ้าออกเสียงเหมือนกันเวลาฟังคนพูดจะรู้ได้งัยว่าเป็นตัวไหน?
คำตอบง่ายมากค่ะ ตัว を ใช้เนื่องในโอกาสเดียว คือเป็น "คำช่วย" เท่านั้นค่ะ จะไม่เจอตัวนี้ปนในคำศัพท์แน่นอน เพราะฉะนั้นถ้าคำที่เราได้ยินเป็นคำศัพท์ ก็จะต้องเป็นเสียงโอะของตัว お ตัวนี้ค่าาา



ตัวโดดเดี่ยวผู้น่ารักตัวสุดท้าย คือไม่มีวรรคอยู่ค่ะ ถูกทิ้ง 5555
ลองย้อนกลับไปดูจะพบบว่าตัวอักษรทุกตัวเป็น พยัญชนะ ทั้งสิ้น มีเจ้าตัวสุดท้ายนี่แหละค่ะ ที่เป็นตัวสะกด ซึ่งก็คืออออออ


ตัวนี้นี่เอง อ่านว่า -N หรือ NN (อึ้น) ค่ะ

ขีดข้างหน้าก็บ่งบอกละนะว่ามันเป็นตัวสะกดเพียงอย่างเดียว บอร์นทูบี แบบไม่ต้องมีใครจ้าง เพราะฉะนั้นจะไม่มีทางเห็นตัวนี้ขึ้นนำแน่นอน มันจะเป็นผู้ตามเสมอ  (เดี๋ยวจะอธิบายหลักการใช้เพิ่มเติมโพสต์หน้านะคะ)






อาวล่ะะ ตัว Hiragana ทั้งหมด 46 ตัวก็รู้จักกันแล้ว สิ่งที่จะทำให้จำได้ก็คือการคัดค่ะ คัดเท่านั้นที่ครองโลกกกกกกก ไม่มีทริคเลย คัดอย่างเดียวววว พอต้องคัดกันแล้วเลยแว่บปเอาตัวอย่างกระดาษคัดมาให้ทุกคนไปปริ้นท์แล้วนั่งคัดอย่างมีความสุขกันนะคะ กดโล้ดดดด >>> กระดาษคัดอักษร 

อย่าาา อย่าเพิ่งคิดว่ามันจะจบบบบบบบ 5555
ตัวอักษรน่ะหมดแล้วค่ะ โพสต์ต่อไปจะเป็นเรื่องเครื่องหมาย ซึ่งเครื่องหมายนี้เมื่อใส่ไปบนตัวอักษรแล้ว เสียงมันก็จะเปลี่ยนไปค่ะ (เหมือนวรรณยุกต์บ้านเรา) โพสต์นี้ก็ให้ทุกคนรู้จัก hiragana กันไปก่อนเนอะ

โพสต์หน้าเรื่องอักษรเสียงขุ่นและกึ่งขุ่น รวมถึงวิธีการอ่าน ん และตัวสะกดในภาษาญี่ปุ่นด้วย แล้วเมื่อเราสามารถอ่าน hiragana ได้หมดแล้ว เราก็จะไปทำความรู้จัก katakana กันนะคะ อย่าเพิ่งใจร้อน เยอะไปเดี๋ยวจะเบื่อภาษานี้กันก่อน 55555

การเรียนภาษาทุกภาษาต้องมีความตั้งใจแล้วก็มานะมากกกมากกกเลยนะคะ
ถ้าอยากเข้าใจภาษานั้นๆเนี่ย ต้องไม่ยอมแพ้เนอะ 
เราก็กำลังพยายามอยู่เหมือนกัน ยังไงถ้าใครอยากได้คำแนะนำ หรือมีข้อติชมอะไร ก็คอมเมนท์ได้เลยค่ะ เราพร้อมรับฟังทุกๆคอมเมนท์ค่าาา ^^

โพสต์นี้ขอจบที่ตารางตัวอักษร hiragana ที่วันนี้เราได้รู้จักทั้ง 46 ตัวนะคะ


ปอลิง:น่ารักอ่ะเด้ 5555555
    ในตาราง ตัว ん จะอยู่รวมกับวรรค わ เพราะเป็นดีไซน์ค่ะ แต่จริงๆมันไม่ได้อยู่วรรคเดียวกันน้า

บ้ายบายค่าาาาาาา 


またね!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น