วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

อักษรเสียงขุ่น กึ่งขุ่น นาสิก ตัวสะกด และเสียงควบ ในภาษาญี่ปุ่น

คือเนื้อหาโพสนี้หลากหลายมาก เลยไม่รู้ว่าจะตั้งชื่อโพสว่าอะไรดี
พอตั้งชื่อโพสแล้วรู้สึกมันดูจิงจั้งจิงจังงง ไม่สมกับเป็นคนไร้สาระอย่างเราเลย 55555

โพสต์ที่แล้วรู้จักอักษรกับเสียงไปแล้วเน้อะ โพสต์นี้มาดู..เอ่ออ ตามอีหัวข้อชื่อโพลต์แหละ ยาวฟร้อยยยย 5555

เริ่มจาก

อักษรเสียงขุ่น

เครื่องหมาย () หรือ てんてん (tenten) เมื่อใส่ลงไปบนอักษรแล้วจะทำให้อ่านออกเสียงขุ่นขึ้นค่ะ
ตะ ตะ ตะ แต่ว่ามันไม่ได้เติมทุกวรรคค่ะ มีแค่วรรคผู้โชคดีดังต่อไปนี้เท่านั้นนนนน

วรรค
ธรรมดาอ่านออกเสียงเป็น K แต่เมื่อเติม (เข้าไป จะอ่านออกเสียงเป็นตัว G แทนค่ะ
เพราะฉะนั้นวรรคนี้เมื่อเติม (จะเป็น GA - GI - GU - GE - GO
GA - GI - GU - GE - GO

เครื่องหมาย tenten นั้นจะเขียนอยู่บริเวณมุมขวาบนนะคะ ไม่ห่าวจากตัวอักษรมากเกินไป 





วรรค
ธรรมดาอ่านออกเสียง S เมื่อเติม (เข้าไป จะอ่านออกเสียงเป็นตัว Z แทนค่ะ
*สำหรับ (SHI) ที่อ่านไม่เหมือนชาวบ้านในวรรคเดียวกันนั้น เมื่อเติม (เข้าไป จะอ่านออกเสียงเป็นตัว JI (จิ) ค่ะ
เพราะฉะนั้นวรรคนี้เมื่อเติม () จะเป็น ZA - JI - ZU - ZE - ZO
ZA - JI - ZU - ZE - ZO










วรรค
ธรรมดาอ่านออกเสียง T เมื่อเติม (เข้าไป จะอ่านออกเสียงเป็นตัว D แทนค่ะ
*ตัว ที่ธรรมดาอ่านว่า CHI เมื่อเติม (เข้าไป จะอ่านว่า JI เหมือน เลยค่ะ
**ตัว ที่ธรรมดาอ่านว่า TSU เมื่อเติม (เข้าไป จะอ่านว่า ZU เหมือน ค่ะ
ทีนี้หลายคนอาจสงสัยว่าปัญหาเกิดอีก สติเตลิดเปิดเปิงว่า แล้วถ้าฟังอย่างเดียวจะรู้ได้งัยว่าพูดถึงตัวไหน?
คำตอบคื้ออออ คำศัพท์ที่ใช้ กับ นั้นมีจำกัดค่ะ น้อยมากกกกกกกกกกก อย่าง ก็มีแค่ つづく คำเดียวที่เห็นบ่อยและใช้กัน นอกนั้นแทบไม่มี เพราะฉะนั้นแยกง่ายมั่กก
สรุป วรรคนี้เมื่อเติม () จะเป็น DA - JI - ZU - DE - DO
DA - JI - ZU - DE - DO










วรรค
วรรคนี้ธรรมดาอ่านออกเสียง H เมื่อเติม (เข้าไป จะอ่านออกเสียงเป็นตัว B แทนค่ะ
วรรคนี้เมื่อเติม () จะเป็น BA - BI - BU - BE - BO
BA - BI - BU - BE - BO

อันนี้จำง่ายมันจะคล้ายๆเพลงที่ร้องว่า ไอ่บ้าไอ่บีไอ่โบ้ไอ่เบ้ 5555







สำหรับ() มีวรรคที่ใช้เท่านี้เองค่ะ 


อักษรเสียงกึ่งขุ่น
อีกเครื่องหมายนึงที่ทำให้เสียงของอักษรเปลี่ยนเมื่อเอามันมาแหมะไว้คือ () หรือเครื่องหมาย まる (Maru) ค่ะ เมื่อเติมแล้วจะทำให้ออกเสียงกึ่งขุ่น (ลองออกแล้วมันกึ่งขุ่นยังไงก็ไม่เกท ชั่งมัน! เอาเป็นว่าออกเสียงได้ พอ!! 555)
ใส่ตำแหน่งเดียวกับ () เลย แถมมีแค่วรรคเดียวที่เป็นผู้โชคดีได้ใช้เครื่องหมายนี้ คืออออ

วรรค
วรรคนี้ธรรมดาอ่านออกเสียง H เมื่อเติม (○) เข้าไป จะอ่านออกเสียงเป็น P ค่าา
วรรคนี้เมื่อเติม (○) จะเป็น PA - PI - PU - PE - PO
PA - PI - PU - PE - PO










โอ่ยยย ตาลายยยยยยยย 55555 โงนเงนอยู่สามวิ ไปต่อ! เซอไวเว่อชัดๆ! 555

ตัว ん
หัวข้อต่อไปคือ ตัว ん ค่ะ

ตัวนี้เนี่ยมันออกเสียงเป็นตัวสะกดได้หลายแม่มากๆ มันอวตารแยกร่างได้เยอะมากก อย่างภาษาไทย ตัวสะกดแม่นึงมีเป็นโหลๆ จำไม่เคยได้ ไม่รู้ทุกวันนี้อ่านสือออกได้งัย555555 แต่ในภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ตัวสะกดมีน้อยมั่กก ตัว ん เป็นหนึ่งในสิ่งล้ำค่านั้น แรร์ไอเทม 

ん = N
คือออกเสียงตัวสะกดเป็นแม่กน เมื่อตัวที่ตามหลัง ん เป็นเสียง S, J, N, T, D, R
ตัวอย่างเช่น   
しんせつ = shi+n+se-tsu = shinsetsu  คำนี้แปลว่า โอบอ้อมอารี ค่ะ (เป็นคำ Adj.)

ん = M
คือตัว ん จะแทนเสียงตัวสะกดในแม่กม เมื่อตัวหลัง ん มีเสียง M, B, P
ตัวอย่างเช่น
ぜんぶ = ze+m+bu  =  zembu คำนี้แปลว่า ทั้งหมดค่ะ 

ん = NG
เมื่อตัวหลัง ん เป็นเสียง A, K, G, H, Y, W, และคำทั่วๆไปส่วนใหญ่ จะออกเสียงตัวสะกดเป็นแม่กงค่ะ
ตัวอย่างเช่น 
かんこく = ka+ng+ko+ku  =  kangkoku  แปลว่าประเทศเกาหลีค่ะ

จริงๆสำหรับการรออกเสียงเนี่ย เราไม่ค่อยเน้นจำค่ะ 5555 คือเวลาเรียนเราจะจำมากกว่าว่าคนญี่ปุ่นเค้าอ่านคำนี้ยังไง ไม่ยุ่งยากดี สิ่งสำคัญคือเราจำแล้วพูดไปเรื่อยๆ เราจะจำได้เองว่าคำนี้อ่านยังไง เสียงสูงตรงไหน ต่ำตรงไหน อันนี้เป็นทริคที่เราใช้นะคะ แต่ถ้าใครถนัดแบบนี้ก็ตามสะดวก แล้วแต่คนค่ะ ^^

ไหนๆ ก็พูดถึงตัวสะกดอวตารได้ไปแล้ว ขอนิดนึงกับการพูดเสียงยาวในภาษาญี่ปุ่น
คือ จากโพสต์ที่แล้วจะเห็นเลยว่า เสียงตัวอักษรแต่ละตัวในเจแปนนีสเนี่ย จะเป็นเสียงสั้น ทีนี้คำถามเกิด ใครถามไม่รู้ จะตอบบบบบบบ 555 คือ แล้วคนญี่ปุ่นเค้าไม่พูดเสียงยาวกันเหรอ? จะแค่อะๆคะๆนะๆทะๆไปเรื่อยๆเหรอ? บางคำได้ยินเหมือนเป็นเสียงยาวเลย?

คำตอบคือ มีค่าาาา

เหมือนภาษาไทยที่มี สระอะ และ สระอา เจแปนนีสอันทรงคุณค่าก็เช่นกัน การทำให้เสียงยาวขึ้นก็ง่าย ๆ เลยซาร่า เราต้องการให้เสียงสระอะไรยาว ก็เอาเสียงสระนั้นไปวางต่อเลย พูดอาจจะงง ไปดูตัวอย่างดีฟร่า
เช่น       あ =  A(อะ)   แต่เราต้องการให้มันยาวเป้น อา เราก็เอาเสียงอะไปวางต่อ เป็น ああ  =  AA(อา) 
             き  =  KI(คิ)  ต้องการให้เป็นคี ก็เติมเสียงอิเข้าไปเป็น きい  =  KII(คี)
             む  =  MU(มุ)  ทำเป็นมู โดยเติมเสียงอุ เป็น むう  =  MUU
แต่สำหรับอีกสองเสียงที่เหลือจะมีซัมติงนิดหน่อย ดูตัวอย่างนะคะ
             ね =  NE(เนะ) ทำเป็นเน โดยเติมเสียงอิค่ะ ไม่ใช่เสียงเอะ ねい =  NEI (เนย์) คือมันไม่เนนนนนน ไปเลยเหมือนภาษาไทย มันจะเป็นเนอิแบบพูดเร็วๆค่ะ
             ほ  =  HO(โฮะ) ทำเป็นเสียงยาวโดยเติมเสียงอุค่ะ ไม่ใช่เสียงโอะ ほう  =  HOU (โฮว์) เช่นเดียวกับทำเสียงเอะให้ยาว เสียงโอะเมื่อยาวก็จะไม่โอไปเลย แบบโอออออ โอจิงโอจัง มันจะโอยาวๆเบาๆแบบ โฮอุ เสียงอุเบาๆแล้วพูดรวมกันให้เร็วแบบฟาส7
เกณฑ์ที่บอกข่างบนนี่ใช้สำหรับ Hiragana เท่านั้นค่ะ สำหรับ katakana เค้ามีอีกอย่างนึงซึ่งง่ายกว่ามากไว้ใช้ทำให้เสียงยาว

ปอลิง :เสียงเอะกับโอะนั้นบางคำก็ใช้ え กับ お ต่อท้ายให้ยาวค่ะ แต่มีไม่มาก
ว่าแต่รู้มาขนาดนี้แล้ว อ่านคำนี้ได้ยังเอ่ย ひらがな >>> hiragana นั่นเอ้งงงง

อะเครวัยรุ่น มาต่อกันที่เสียงควบในภาษาญี่ปุ่นค่ะ
ภาษาไทยเรามีเสียงควบอย่าง กวาง, ครั้ง และอื่นๆ ภาษาญี่ปุ่นก็มีเหมือนกัน

เสียงที่จะ ควบกลํ้า ล่ายเนี่ย มันจะต้องเป็นเสียงสระอิเท่านั้นค่า 
ควบกับ 3 อักษร คือ や、ゆ、よ
ทีนี้เมื่อเจ้า 3 ตัวนี้ ไปเป็นคำควบแล้ว เพื่อบ่งชี้ว่าข้านี้คือตัวควบ ตอนนี้ข้าเป็นตัวควบ มันจะมีเอฟเฟคเล็กน้อยคือ ตัวมันจะเล็กลงครึ่งนึงของไซส์ปกติค่ะ เดี๋ยวลองดูจากรูปด้านล่างนะคะ


เห็นมั้ยว่าตัว や、ゆ、よ มันจะเล็กลงแค่ครึ่งเดียวของตัวพยัญชนะข้างหน้า

การอ่านเนี่ย เสียงมันก็จะควบกับเป็น 
KYA, KYU และ KYO
(เสียงสั้นนะคะ)




เมื่อเติม てんてん แล้วเสียง K เปลี่ยนเป็น G
เพราะฉะนั้นเจ้า 3 ตัวนี้จะอ่านว่า
GYA, GYU, GYO







เมื่อตัว し + ตัวควบก็จะบู้มมม กลายเป็นน
SHA, SHU, SHO ค่า








เติม てんてん แล้วก็จะอ่านได้ว่า
JYA, JYU, JYO








แพคนี้อ่านว่า 
CHA, CHU, CHO








แพคคู่แฝดทางการได้ยินกับข้างบน 
JYA, JYU, JYO








แพคนี้เสียงอ่านจะน่ารักเหมาะกับสาวกอะนิเม 55555
NYA, NY, NYO







ส่วน 3 ตัวนี้อ่านว่า
HYA, HYU, HYO








วรรค は เติม てんてん ไปก็จิกลายเป็น
BYA, BYU, BYO








เติม まる ไปก็จะอ่านได้ว่า
PYA, PYU, PYO








ตัว み พอควบกลํ้าแล้วก็จะอ่านว่า
MYA, MYU, MYO








ส่วน 3 ตัวนี้อ่านว่า 
RYA, RYU, RYO







สำหรับคำควบนี้นะคะ ถ้าต้องการจะทำให้เสียงมันยาวย้าวยาวเนี่ย ก็ใช้หลักเดิมคือ
ควบด้วย や เติม あ เพื่อต่อให้เสียงยาวขึ้น
ควบด้วย ゆ เติม う ต่อเสียง
ควบด้วย よ เติม う เช่นกันเพื่อต่อเสียงให้ยาวขึ้นค่ะ

ตัวสะกดตัวจิ๋วๆ
เรารู้จักแรร์ไอเทมของภาษาญี่ปุ่นอย่างตัวสะกดไปแล้วตัวนึง ซึ่งก็คือ ตัว ん ค่ะ
แต่ว่า มันไม่หมดแค่นั้น ในภาษาญี่ปุ่นเนี่ยมีอีกตัวอักษรนึงที่อวตารมาเป็นตัวสะกดได้

ซึ่งก็คือออ แถ่นแท้นนน ขอไฟหน่อยยยยย

ตัว つ นั่นเองงงงงง

เช่นเดียวกับตัวควบ อักษรพวกนี้มันมีหน้าที่เป็นพยัญชนะด้วย เพราะฉะนั้นร่างอวตารมันที่มาทำหน้าที่อื่นต้องมีการแปลงร่าง!!
ซึ่งการแปลงร่างง่ายมาก แค่ ย่อตัวเองลงเท่านั้นค่ะ

ตัว つ เนี่ยก็เช่นกัน พอมาเป็นตัวสะกด รูปลักษณ์มันจะกระจิ๋วขึ้น เรียกชื่อใหม่ว่า つเล็ก

ไปสะกดตัวไหนก็ไปยืนแหมะต่อท้ายเค้านั่นแหละค่ะ



แล้วนี่ก็คือตัวอย่างเจ้าจิ๋ว つ ค่ะ ขนาดจะประมาณครึ่งนึงของไซส์ปกติ









ส่วนตัวนี้ มันไปสะกดเป็นเสียงตัวสะกดอะไรได้บ้าง? ต้องขอบอกว่าแล้วแต่บริบทของสถานที่นั้น
ดังเน้!
ถ้าตัวอีกษรที่ตามมา มาจาก วรรค か จะสะกดเป็น K
เช่น がっこう = ga+k+ko+u   =   gakkou   แปลว่าโรงเรียนค่า
ถ้าตัวอีกษรที่ตามมา มาจาก วรรค さ จะสะกดเป็น S
เช่น ざっし = za+s+shi  =  zasshi   แปลว่า นิตยสาร ค่ะ
ถ้าตัวอีกษรที่ตามมา มาจาก วรรค た จะสะกดเป็น T
เช่น あさって = a+sa+t+te  =  asatte   แปลว่า วันมะรืน ค่ะ
ถ้าตัวอีกษรที่ตามมา มาจาก วรรค ぱ จะสะกดเป็น P
เช่น すっぱい = su+p+pa+i   =   suppai  แปลว่า เปรี้ยวค่ะ แบบรสเปรี้ยว

ยืดยาวเยื้อยย้อยมาจนถึงขณะนี้ ทุกคนก็มีความเป็นเจแปนเพิ่มในตัวมาอีก 10% แล้วนะคะ เฮ

โพสต์ที่แล้วมีผู้สนับสนุนช่วยเอาไปโปรโมทในเฟสบุ๊ค ต้องกราบขอบพระคุณมากๆค่ะ 555 
มีคนมาติดตามเพิ่มขึ้น เราทุกคนต่างมีจุดมุ่งหมายที่จะเก่งภาษานี้กันทั้งนั้น
ทุกคนนน มาสู้ไปด้วยกันนนนน เย่‼ 

สำนวน 「สู้ไปด้วยกันเถอะ」เนี่ยเขียนอย่างนี้น้า がんばりましょう!!>>> อ่านกันได้รึเปล่าเอ่ย
が = ga
ん = ตัวนี้ต้องไปดูตัวหลังว่าเป็นวรรคอะไร ซึ่งตัวหลังคือ ば เพราะฉะนั้นต้องออกเสียงสะกดเป็นตัว m
ば = ba
り = ri
ま = ma
しょ = sho
う = u  > เสียง u ใส่หลัง しょ จะเป็นการต่อเสียงให้  sho ให้ยาวขึ้นเป็น shou
รวมเป็นนนนนน gambarimashou 

がんばりましょう เป็นสำนวนใช้ในแง่การชักชวนค่ะ สู้ไปด้วยกันเถอะ นายก็สู้ เราก็สู้ สู้ไปพร้อมกัน ประมาณนี้

แต่ถ้าเราอยากให้กำลังใจคนอื่นว่า สู้ๆนะ อะไรอย่างงี้ ก็จะใช้ว่า がんばってください (ได้ยินบ่อยมากเวลานายสั่งงานมหาศาลแล้วเป็นงานสำคัญ ยิ้มอย่างเยือกเย็นพร้อมประโยคนี้ น้ำตาจะไหล) 
หรือถ้าเพื่อนๆกัน เราอาจพูดสั้นๆให้ดูคิขุตามฉบับสาวเจแปนว่า がんばってね!ก็ได้ค่าา 

แล้วถ้าเราพูดเองล่ะว่าเราจะสู้ จะพูดยังไง?

เวลามีคนมาพูดให้กำลังใจเราว่า สู้ๆนะ เราเองก็ควรมีมารยาทตอบกลับเช่นกันค่ะ
สำนวนที่จะตอบกลับว่า สู้ค่ะ อะไรประมาณนี้ พูดได้ว่า がんばります!ค่ะ (เรานี่ได้พูดประจำ เพราะนายต้องการได้ยินคำนี้หลังสั่งงานกองโตแล้วให้เวลาวันเดียว ฮือออออ)

เอาล่ะ โพสต์นี้คงมีเท่านี้ก่อน โพสต์หน้าจะเป็นอักษร katakana นะคะ เฮฮฮ ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านกันทุกๆโพสต์เลย เป็นกำลังใจในการทำมากเค่อะะ โค้งงงงง

เจอกันโพสต์หน้าค่าา เร็วๆนี้แหละ กำลังฮึด 5555  バイバイ~ またね!

4 ความคิดเห็น: